-->

อาเซียนในสายตาโลก 1

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศที่ร่วมตัวกันเป็น “อาเซียน” ประเทศทั้ง 10 ประเทศที่เป็นสมาชิกของอาเซียนนี้ได้กลายเป็นที่สนใจจากประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ เป็นอย่างสูง ในปัจจุบัน แต่หากว่าเราพิจารณาถึงที่ตั้งหรือ ในด้านภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ไม่ใช่เพิ่งจะไดรับความสนใจจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นที่หมายตา หรือได้รับการให้ความสำคัญมายาวนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก ส่งผลให้ในช่วงเวลบาดังกล่าว ประเทศส่วนใหญ่ในแถบภูมิภาคนี้ตกอยู่เป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสเปน ประเทศอังกฤษประเทศโปตุเกตุ หรือ ประเทศฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์) เป็นต้น
           แม้ว่าปัจจุบันจะหมดยุคของการล่าอาณานิคมไปแล้ว ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นก็ได้รับอิสระภาพกันไปหมดแล้ว แต่ภูมิภาคนี้ก็ยังคงเป็นที่หมายตาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอยู่
สวัสดีค่ะผู้เรียนทุกคน  ห้วข้อการเรียนรู้ในวันนี้ คือ อาเซียนในสายตาโลกค่ะ เป็นการเรียนรู้ถึงบทบาทและความสำคัญของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกกันว่าอุษาคเนย์
ว่ามีบทบาทและมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดประเทศมหาอำนาจตะวันตก ต่างจับตามองความเคลื่อนไหวของประเทศในภูมิภาคนี้
ประเด็นแรกที่เราต้องทำความเข้าใจกันเบื้องต้น ก็คือ อาเซียน คือ กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์
ซึ่งในภูมิภาคนี้มีความสำคัญภูมิภาคหนึ่งของโลก โดยมีความสำคัญทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค่ะ
ภูมิภาคนี้อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งผลิตข้าว อันดับต้น ของโลก เป็นแหล่งผลิตยางพารา พืช ผัก ผลไม้เขตร้อน รวมไปถึงการทำประมง
และในเชิงภูมิศาสตร์ ภูมิภาคอุษาคเนย์ ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ที่เชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกค่ะ
เมื่อพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกแหล่งหนึ่ง
ดังจะเห็นได้จาก การค้นพบกระโหลกมนุษย์ยุคหินเก่าในประเทศอินโดนีเซีย ที่เรียกว่า มนุษย์ชวา
นอกจากนั้น ยังปรากฏอารยธรรมในยุคหินใหม่ เช่น อารยธรรมดงเซินหรือดองซอนในประเทศเวียดนาม หรืออารยธรรมบ้านเชียงในประเทศไทยของเรานี่เองค่ะ
และที่สำคัญภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณหลายอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็น มอญ ขอม ศรีวิชัย ทำให้มีมรดกล้ำค่าในด้านศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคมากมาย
ในยุคจักรวรรดินิยม ประเทศตะวันตกได้ขยายอิทธิพลด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร มายังอุษาคเนย์ เนื่องด้วยสินค้า เครื่องเทศ ไม้หอม และพริกไทย เป็นแรงจูงใจ
ทำให้ในยุคล่าอาณานิคมหลายประเทศในภูมิภาคได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่เข้ามาแผ่อิทธิพลเหนืออุษาคเนย์
อาทิ อินโดนีเซียตกป็นเมืองขึ้นของฮอลันดา ฟิลิปปินส์ตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน  มาลายู พม่า ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อินโดจีน คือ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
มีเพียงประเทศไทย หรือสยามในสมัยนั้น เป็นชาติเดียวที่ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นในยุคจักรวรรดิยม
แต่เราก็ต้องก็ต้องดำเนินนโยบายหลายประการเพื่อให้รอดพ้น และไม่เสียเอกราช ไม่ว่าจะเป็น การเจรจาทางการทูตและการทำสนธิสัญญาทางการค้า
ที่ทำให้ต้องเสียเปรียบทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ในชื่อที่รู้จักกัน คือ สนธิสัญญาเบาริ่ง กับประเทศอังกฤษ ในปี ..1855
การที่เราต้องเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศส และการต้องพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในทุกด้าน ทั้ง การเมือง การปกครอง การศึกษา การศาล การแพทย์ และการคมนาคม
ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศแถบอุษาคเนย์ก็ต้องต่อสู่กับการขยายแสนยานุภาพของกองกำลังญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงอุษาคเนย์ด้วย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง ประเทศต่าง เริ่มเรียกร้องเอกราชจากประเทศที่ตนตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาลายู และพม่า
โดยประเทศต่าง ได้ทยอยได้รับเอกราช และเกิดการสร้างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเวลาต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ก็เป็นการยุติการแข่งขันด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ
ระหว่างประเทศประชาธิปไตย ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ กับประเทศสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ
ก่อให้เกิดการแข่งขันกันทางด้านเศรษฐกิจอย่างมากมายตามมาในภูมิภาค
ประเทศในภูมิภาคต่างหันมามองที่จะพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ การแข่งขันทางด้านการค้า เกิดการรวมตัวของกลุ่มประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและอำนาจในการต่อรอง
ดังนั้น กลุ่มประเทศอินโดจีนที่เดิมได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทางการต่างประเทศ
โดยมาเน้นประสานความร่วมมือกับประเทศอาเซียนมากขึ้น ทำให้กลุ่มประเทศอินโดจีนทั้งสามประเทศได้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนในเวลาต่อมา
หากเราดูเรื่องความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือเริ่มปรากฏให้เห็น ครั้งแรก ด้วยการเกิดขึ้นของสมาคมอาสา  ของประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในปี .. 2504
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมระหว่างกัน แต่สมาคมอาสาก็สิ้นสุดลงเพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย
ต่อมาในปี .. 2510 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มประเทศ 5 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์
และหลังจากนั้นก็ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ ก็คือ ประเทศบรูไน เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม รวมเป็นทั้งหมด 10 ประเทศ
ซึ่งต่อมาสมาคมอาเซียนนี้เองได้พัฒนาขึ้นเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในชื่อ ประชาคมอาเซียน เมื่อปลายปี .. 2558 ที่ผ่านมา

ไม่มีความคิดเห็น