-->

กำเนิดสมาคมอาเซียน

  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nations: ASEAN) เป็นความสำเร็จของการริเริ่มสร้างความร่วมมือของประเทศที่ตั้งอยู่ในในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุว่าในขณะนั้นประเทศในภูมิภาคนี้กำลังระแวงกับภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังแพร่ขยายมาทางเวียดนาม ฯพณฯ ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น จังได้หารืนร่วมกับอีก 4 ประเทศ ที่มีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์ ซึ่งผลจากการหารือในครั้งนั้นนำไปสู่การตกลงความร่วมมือระหว่างจัดตั้งสมาคมอาเซียนนี้ขึ้นมา โดยมีประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ๅประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย โดยการก่อกำเนิดสมาคมอาเซียนขึ้นมานั้น ถือเป็นความสำเร็จหลังจากที่ได้มีการริเริ่มจัดทำความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคนี้มาหลายครั้ง แต่ก็ต้องพบกับปัญหา และล้มเหลวไปเสียหลายครั้งหลายครา
สวัสดีครับผู้เรียนทุกคน
ในหัวข้อที่เราจะมาเรียนรู้กันนะครับ คือเรื่อง กำเนิดสมาคมอาเซียน


ก่อนที่จะเราจะเรียนรู้ว่าสมาคมอาเซียนนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

เราอาจจะต้องพิจารณาย้อนหลังไปก่อนหน้าที่อาเซียนจะเกิดขึ้นสักนิดนึงนะครับว่าแนวคิดในการสร้างความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียนตะวันออกเฉียงใต้นี้มันเริ่มมาตั้งแต่เมื่อใหร่

จากที่เราได้เคยศึกษากันไปแล้วนะครับว่าแนวคิดในการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่หลังจากยุคสงครามเย็น

เพราะว่าหลังยุคสงครามเย็นก่อนที่สมาคมอาเซียนจะเกิดขึ้น ได้มีความพยายามในการที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้นมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายครั้ง

ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งองค์การซีโต้ การจัดตั้งสมาคมอาสา หรือการจัดตั้งกลุ่มประเทศมาฟิลินโด ซึ่งล้วนแต่จะประสบความล้มเหลวไปด้วยกันทั้งหมดนะครับ

องค์การซีโต้ หรือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความร่วมมือระหว่างชาติมหาอำนาจตะวันตกกับประเทศในภูมิภาค

ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นมา ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน .. 2497 กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยองค์การซีโต้ที่จัดตั้งขึ้นมานี้มีวัตถุประสงค์ในการที่จะประสานความพยายามในการที่จะป้องกันร่วมกัน

เพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของประเทศสมาชิก

องค์การซีโต้นี้มีสมาชิกทั้งสิ้น 8 ประเทศนะครับ แต่มีประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเพียง  2
ประเทศที่เข้าร่วมกับองค์การซีโต้ ก็คือ ประเทศไทย และประเทศฟิลิปปินส์

นอกจากนั้นเป็นประเทศที่อยู่นอกภูมิภาค ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และปากีสถาน

แต่การดำเนินงานขององค์การซีโต้ได้ประสบความล้มเหลวในการเข้าแทรกแซงความขัดแย้งในประเทศลาวและเวียดนาม ทำให้องค์การซีโต้ต้องล่มสลายไป

ส่วนสมาคมอาสา เป็นความร่วมมือกันของประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในการให้ความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

โดยสมาคมอาสาตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม .. 2504 แต่การดำเนินงานของสมาคมอาสาก็ดำเนินการเพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง

เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย

ส่วนกลุ่มประเทศ มาฟิลินโด เป็นแนวคิดที่จะรวมชนเผ่ามาเลย์เข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย โดยกลุ่มประเทศนี้จัดตั้งรวมตัวกันขึ้นมา  เมื่อปี .. 2506

แต่ด้วยปัญหาทางการเมือง และปัญหาการแย่งชิงสิทธิการครอบครองดินแดนบอร์เนียวเหนือ ระหว่างฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย ทำให้มาฟิลินโด ไม่ประสบความสำเร็จ

ทำให้ความพยายามในการสร้างความร่วมมือในภูมิภาค จึงต้องล้มเหลวอีกครั้ง

จากประสบการณ์ความล้มเหลวดังกล่าว ต่อมา ในปี .. 2510 ผู้นำประเทศ 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามและต้องการสกัดกั้นภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคขณะนั้น

และรวมทั้งยังเป็นความร่วมมือซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

จึงได้ข้อสรุปแนวทางความร่วมมือในการจัดตั้งสมาคมอาเซียนขึ้นมา โดยประชุมร่วมกันครั้งนี้เกิดขึ้นที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี

และในวันที่ 8 สิงหาคม .. 2510 ได้มีการลงนาม ปฏิญญากรุงเทพ ที่วังสราญรมย์ เพื่อจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือว่าอาเซียน

โดยผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่เข้าร่วม ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย

นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซ็น รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย

นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์

นาย เอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์

และ ..(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย ซึ่งถือกันว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนขึ้นมา

โดยความประสงค์หลักของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนขึ้นมา คือ เพื่อสร้างสันติภาพ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมให้มีความแข็งแกร่งขึ้น

และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ากันรุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น

การดำเนินงานของสมาคมอาเซียนนั้น ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ได้ยอมรับและปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของอาเซียนร่วมกันหลายประการ

ไม่ว่าจะเป็น การเคารพเอกราชและอธิปไตยซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี การไม่ใช้กำลัง เป็นต้น

และนอกจากนั้น อาเซียนยังยึดถือหลักฉันทามติเป็นพื้นฐาน ของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย

คือ ประเทศสมาชิกทุกประเทศ จะต้องเห็นชอบในเรื่องนั้น ก่อน อาเซียนถึงจะดำเนินการในเรื่องนั้น ได้

ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของสมาคมอาเซียนนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย

ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และ สังคมและวัฒนธรรม ทำให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้รับประโยชน์ จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งได้รับการพัฒนาในทุก ด้านร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น