-->

การขยายตัวของอาเซียน

ภายหลังจากที่สมาคมอาเซียนเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันของประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ โดยได้มีการลงนาม ปฎิญญาอาเซียน หรือ ปฏิญญากรุงเทพ ร่วมกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ณ วังสราญรมย์ ประเทศไทย สมาคมอาเซียนก็ถือว่าได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่หลังจากที่สมาคมอาเซียนได้เกิดขึ้น ก็ไม่มีการรับสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาในอาเซียนตามลำดับจาก 5 ประเทศ จนปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ และยังมีแนวโน้มในการที่จะรับสมาชิกเพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้   เพราะเงื่อนใขในการรับสมาชิกเพิ่มของอาเซียนนั้นให้ความสำคัญในเชิงภูมิศาสตร์ หรือที่ตั้งของประเทศ ว่าต้องเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่านั้น ดังนั้น หากประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมีความประสงค์จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกก็สามารถทำได้โดยไม่ยาก
หมายเหตุ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ผู้เรียนสามารถดูรายละเอียดได้จาก ข้อมูลประเทศสมาชิกอาเซียน
จากที่เรารู้กันว่าอาเซียนเกิดขึ้นในเริ่มแรกนั้นประกอบด้วยสมาชิกร่วมจัดตั้ง
5 ประเทศ

คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย

ที่ได้ลงนามในปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม .. 2510 วังสราญรมย์ ในประเทศไทยของเรานี่เอง

จนเป็นที่รู้กันว่า สถานที่เกิดของอาเซียนก็คือที่ไทยเรานี่เองแหละครับ และยังมีการกำหนดให้ทุกวันที่ 8 สิงหาคมเป็นวันอาเซียนอีกด้วย

จากวันที่ลงนามปฏิญญากรุงเทพ ของประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ถือเป็นความสำเร็จในการแสวงหาความร่วมมือของประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพราะเนื่องจาก ในขณะนั้น ทุกประเทศต่างรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ภายหลังจากยุคจักรวรรดินิยมเพราะว่า 4 ใน 5 ประเทศ ผู้ก่อตั้งอาเซียนเองก็ต่างเคยตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก มาแล้ว

โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ นั้นเคยตกเป็นอาณานิคมถึงสองครั้งของทั้งประเทศสเปน และสหรัฐเมริกา

หรือแม้แต่ไทย ถึงแม้จะรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ต้องได้รับผลกระทบมากมายจากการแผ่อาณานิคมของชาติตะวันตกเหนืออุษาคเนย์

ตามปฏิญญากรุงเทพ ที่ได้จัดตั้งสมาคมอาเซียนขึ้นมานั้น ได้กำหนดเกี่ยวกับการขยายตัวของอาเซียนในการรับสมาชิกเพิ่มเติมเอาไว้ โดยกำหนดไว้ว่า

สมาคมอาเซียนจะเปิดให้ประเทศต่าง ในภูมิภาคเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาเป็นสมาชิกได้ แต่ประเทศเหล่านั้นต้องยอมรับจุดหมาย หลักการ และความมุ่งประสงค์ของอาเซียนด้วย

ซึ่งหากเราดูรายละเอียดแล้วจะเห็นว่า อาเซียนไม่ได้กำหนดเงื่อนไขอะไรมากมายในการรับสมาชิกเพิ่ม เพียงแต่ประเทศนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดังนั้น หลังจากอาเซียนตั้งขึ้น จึงมีประเทศในภูมิภาคที่ยอมรับหลักการของสมาคมอาเซียนทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนเป็น 10 ประเทศในปัจจุบัน โดยมีลำดับการเข้าร่วม ดังนี้

สมาชิกอาเซียนลำดับที่ 6 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

หลังจากอาเซียนเกิดขึ้นจากการรวมตัวของประเทศ 5 ประเทศ ต่อมาอีก 17 ปี เพียง 1 สัปดาห์หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษของประเทศบรูไน ดารุสสลาม ในวันที่ 1 มกราคม .. 2527

บรูไนก็ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 ของอาเซียน ในวันที่ 8 มกราคม .. 2527

สมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ประเทศเวียดนาม

หลังจากเวียดนามได้รับเอกราชและกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก็มีความปรารถนาที่จะสมัครเข้ามาเป็นรัฐสมาชิกของอาเซียน

แต่ด้วยสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นที่สร้างระยะห่างระหว่างเวียดนามกับอาเซียน จนไม่เอื้อให้เวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียน

แต่เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย เวียดนามเป็นอิสระและไม่มีพันธมิตร จึงแสวงหาสันติภาพและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

เนื่องด้วยเวียดนามต้องการให้อาเซียนเป็นตลาดสำหรับสินค้าและเทคโนโลยี จึงทำให้เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ของอาเซียนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม .. 2538

สมาชิกอาเซียนลำดับที่ 8 และ 9 ประเทศลาว และพม่า

หลังจากการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้ามาเป็นรัฐสมาชิก อาเซียนเองก็เตรียมความพร้อมสำหรับการรับลาว พม่า และกัมพูชา เข้ามาเป็นรัฐสมาชิกด้วย

ลาวและพม่าได้เข้าร่วมในฐานนะผู้สังเกตการณ์อาเซียนที่การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน หลังจากนั้นจึงยื่นขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

และจนในที่สุด ลาวและพม่าได้เข้ามาเป็นรัฐสมาชิกที่ 8 และ 9 ของอาเซียนใน วันที่ 3 กรกฎาคม .. 2540

สมาชิกอาเซียนลำดับที่ 10 ประเทศกัมพูชา

ก่อนที่อาเซียนจะเปิดให้รับกัมพูชาเข้ามาเป็นรัฐสมาชิกนั้น ก็พบว่า กัมพูชา เกิดปัญหาความไม่สงบจากการเมืองภายในประเทศที่ยังไม่สงบและมีเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรง

แม้ว่ากัมพูชาได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี .. 2539 แล้วนั้น

ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องทบทวนปัญหาดังกล่าว และเลื่อนการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก จนท้ายที่สุดประเทศกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน .. 2542

ปัจจุบันอาเซียนแม้ว่าจะมีสมาชิกถึง 10 ประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาเซียนจะหยุดขยายรับสมาชิกเพียงเท่านั้นนะครับ

เพราะในปัจจุบันอาเซียนก็ยังคงมีแนวคิดเรื่องการขยายตัวปรากฏอยู่ ดังจะเห็นได้จากการที่มีหลายประเทศได้แสดงท่าทีในการที่จะเข้าร่วมกับอาเซียน

ไม่ว่าจะเป็น ประเทศปาปัวนิวกินี ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์อาเซียนมายาวนานตั้งแต่ปี .. 2519 แล้ว

แต่ด้วยที่ข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ที่ปาปัวนิวกินีไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่อาเซียนเองได้รับรองว่าปาปัวนิวกีนีมีภูมิภาคทางการเมืองและเศรษฐกิจเดียวกับสมาชิกอาเซียน และเชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์กับอาเซียน

แต่อีกเหตุผลที่ส่งผลให้ปาปัวนิวกินียังไม่ได้รับสถานะสมาชิกอาเซียนเป็นเพราะความไม่สงบของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศและเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นประจำมากกว่า

ที่ยังคงทำาให้อาเซียนยังคงยืนยัน และปฎิเสธปาปัวนิวกินีด้วยความสุภาพจวบจนปัจจุบัน

ประเทศติมอร์เลสเต หรือประเทศติมอร์ตะวันออก ได้รับเอกราชเมื่อ .. 2545 และนายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์เลสเตได้วางแผนในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ

และได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นครั้งแรกในปี .. 2548

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม .. 2554 ติมอร์เลสเตได้ยื่นคำร้องขอเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างเป็นทางการ

และหลังจากมีการเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่ของติมอร์เลสเตก็ยังคงยืนยันนโยบายการสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนเช่นเดิม

ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน .. 2556 นายเล เลือง มิงห์ เลขาธิการอาเซียนก็ได้ระบุว่า

รัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหมดสนับสนุนติมอร์เลสเตในการเข้ามาเป็นรัฐสมาชิกใหม่ของอาเซียน

ดังนั้น ติมอร์เลสเตน่าจะสามารถมีสิทธิ์เข้ามาเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน  ลำดับที่ 11 ได้มากที่สุด มากกว่าใคร

นอกจากนั้นยังมีประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกปัจจุบันของอาเซียน ในการเข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียนด้วย

เช่น ลาวให้การสนับสนุนบังกลาเทศ เข้ามาเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน

เข้าร่วมเป็นสมาชิกการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงการพัฒนาไปสู่การสมัครเข้ามาเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน

หรือการที่อินโดนีเซียสนับสนุนให้ฟิจิเข้ามาเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน เป็นต้น

จากการเรียนรู้ในส่วนนี้ จะทำให้ทุกคนได้รู้ว่าอาเซียนที่ตั้งขึ้นมามีการขยายตัว เพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นเรื่อย

ซึ่งสมาชิกของอาเซียนยังคงยึดอยู่กับเหตุผลทางภูมิศาสตร์ คือ การที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่มีข้อกำหนดอื่น

ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของรัฐบาล ระบบและทิศทางของอุดมการณ์ นโยบายเศรษฐกิจหรือระดับการพัฒนา

ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีสมาชิกที่แตกต่างหลากหลายกันไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น