-->

01 04 อาเซียนในสายตาโลก 2

สวัสดีครับผู้เรียนทุกคน
จากที่ได้ทราบไปก่อนหน้านี้แล้วว่า อาเซียน
หรือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้
ถูกจับตามองมาเป็นเวลายาวนานแล้วนะครับ


ตั้งแต่สมัยจักรวรรดินิยม และยิ่งเมื่อสมาคมอาเซียนเกิด อาเซียนก็ยิ่งถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น

จากการที่อาเซียนเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม .. 2558 ที่ผ่านมา ทำให้อาเซียนถูกจับตามองเพราะเป็นฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ เนื่องด้วยมีประชากรรวมมากกว่า 600 ล้านคน

นอกจากนั้น ในเชิงภูมิศาสตร์ อาเซียนยังเป็นพื้นที่ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคอีกด้วย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่อยู่ใกล้ตลาดสำคัญของโลกคือ จีน และอินเดีย

เมื่อจีนเปิดประเทศ จีนจึงเป็นเป้าหมายในการลงทุนจากชาติตะวันตก ส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ประเทศทางตะวันตกต่างให้ความสำคัญ เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่ประเทศจีน

นอกจากนั้น จากการที่ประชากรจำนวนไม่น้อยในอาเซียน สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มจีนโพ้นทะเลที่อพยพจากประเทศจีนมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศต่าง ในอาเซียนจำนวนมาก ทั้งในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

อาเซียนจึงเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อความสัมพันธ์ที่เป็นต้นทุนชั้นยอดระหว่างอาเซียนกับจีนที่ประเทศตะวันตกต่างหมายตา

สำหรับประเทศอินเดียนั้น หลายประเทศในอาเซียนได้รับเอาวัฒนธรรมและความเชื่อของศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของอินเดีย ผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับวิถีในการดำรงชีวิตของประชากรในหลายประเทศในอาเซียน

ส่งผลให้คนในอาเซียนมีความเข้าใจในวิถีชีวิตของคนอินเดีย และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชน ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้เป็นอย่างดีระหว่างอาเซียนกับอินเดีย

ในขณะที่ประเทศฝั่งตะวันตก ส่วนใหญ่ก็มีความคุ้นเคย และมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน

และประเทศตะวันตกต่างเข้าใจและมองอาเซียนเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ชาติตะวันตกให้ความสำคัญในฐานะศูนย์กลางในการสร้างอาเซียนให้เป็นฐานด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

อาเซียนจึงเป็นที่หมายตาจากหลากหลายประเทศ ทั่วทุกภูมิภาค ในการเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

ปัจจุบันอาเซียน จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเพียงลำพังอีกต่อไป แต่อาเซียนในสายตาโลก จะถูกกล่าวถึงและให้ความสำคัญในการสร้างความร่วมมือในมิติต่าง กับประเทศคู่ค้า คู่เจรจา ต่าง ทั้งในรูปของทวิภาคี และพหุภาคี

อาทิ อาเซียน+3 อาเซียน+6 ASEAN-China, ASEAN-US, ASEAN-Russia,
ASEAN-Japan
หรือ ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศ เช่น ASEAN-UN, ASEAN-EU เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น